วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน

 ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน 

ทิศทางเดิน เดินสลับฟันปลาเฉียงขวา เฉียงซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ

 จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปทางขวากึ่งขวาหัน ตั้งกระบี่ขึ้นเอามือซ้ายไปรองด้ามกระบี่ โดยแบมือขึ้น โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า 

จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายทำช้า ๆ

จังหวะที่ 3 ยกเท้าซ้ายขึ้นให้เข่าตั้งฉาก ลำตัวตรง

จังหวะที่ 4 ให้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน หมุนตัวไปเฉียงซ้าย พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงกึ่งซ้ายหันโล้น้ำหนักตัวไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย ลำตัวตรงนิ่งไว้ระยะหนึ่ง จึงก้าวเท้าขวาเดิน 1 ก้าว วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา

จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก มือว้ายรำโดยการพลิกให้ฝ่ามือหันออก หลังมืออยู่หน้าโกร่งกระบี่
(จบไม้รำที่ 12 เชิญเทียน)

ถ้าต้องการรำต่อ ก็ให้หมุนตัวเฉียงมาทางขวามือ และปฏิบัติเช่นเดียวกับจังหวะที่ หรือควงกระบี่ 2 รอบ อยู่ในท่าคุมรำ

ไม้รำที่ 11 ลดล่อ

ไม้รำที่ 11 ลดล่อ 

ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้าโดยการพลิกตัวขวา – ซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ
 
จังหวะที่ 1 จากท่าคุมรำลดกระบี่ลง แขนงอเล็กน้อย กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกแขนขึ้นระดับหน้าผาก หันหน้ามองลอดแขนไปทางปลายกระบี่ ย่อตัวให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกวา “ลด” 

จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกเท้าขวาหมุนตัวกลับหลังหัน โดยหมุนตัวทางขวามือ วางเท้าขวาหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายกำหลวม ๆ ลดลงระหว่าหน้าขาซ้ายงอข้อศอกเล็กน้อยยกกระบี่ขึ้นแขนงระดับหน้าผาก ก้มหน้า หันหน้ามองปลายกระบี่เสมอ โล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกว่า “ล่อ”

(จบไม้รำที่ 11 ลดล่อ) ถ้าต้องการรำต่อ ให้ก้าวเท้าซ้ายสอดไปหลังเท้าขวา และวางเท้าขวาข้างหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับพลิกตัวกลับหลังทางซ้ายมือ กลับอยู่ท่าคุมรำ หรือทำจังหวะที่ 1 ต่อไป

ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ

ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ 

ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า, กลับหลังหัน, ขวาหัน เริ่มจากท่าคุมรำ 
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นปก (แขนขวาแนบที่หูขวาคว่ำปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก โล้ตัวไปหน้าให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย ก้มหน้าเล็กน้อย มือซ้ายเหยียดออกคล้ายรำหน้า นิ้วชิดติดกัน หันฝ่ามือออกให้โคนกระบี่วางที่กลางนิ้วก้อย)
 
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย พยายามย่อเข่าทั้ง 2 ลงเล็กน้อย เพื่อความสวยงาม
 
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ให้ตัวนิ่งไว้ระยะหนึ่ง
 
จังหวะที่ 4 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าค่อย ๆ ยกปลายกระบี่ชี้ขึ้น มือทั้งสองทำท่าแหวก หรือท่าว่ายน้ำ ท่ากบ ซึ่งเรียกว่า แหวกฟองน้ำ ให้แขนทั้งสองเสมอไหล่ และขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออก ย่อเข่าซ้าย น้ำหนักตัวโล้ไปเท้าซ้าย
 
จังหวะที่ 5 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าพลิกตัวกลับหลังหันโดยหมุนตัวทางขวา รวมทั้งแขนทั้งสองมาป้องข้างหน้า โดยแบมือซ้ายหันฝ่ามือลงพื้นให้กระบี่ตั้งขึ้นอยู่ในง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้งอข้อศอกทั้งสองยกขึ้นขนานกับพื้นอยู่เหนือสายตา
 
จังหวะที่ 6 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก
 
จังหวะที่ 7 ใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก หมุนตัวไปทางขวา (ทำขวาหัน) พร้อมกับวางเท้าขวาลงข้างหน้า ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้นตั้งฉาก
 
(จบไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ)

ไม้รำที่ 9 ควงแตะ

ไม้รำที่ 9 ควงแตะ 

ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า วางเท้าซ้ายลงพร้อมกับทำขวาหัน ควงกระบี่ 2 รอบ เหยียดมือซ้ายรองรับปลายกระบี่ ที่ขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออกเรียกว่าควงแตะ งอเข่าทั้ง 2 เล็กน้อย ลำตัวตรง
 
จังหวะที่ 2 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ใช้เท้าเป็นจุดหมุนกลับหลังหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวา ลงพื้นในทิศทางตรงไปข้างหน้า เช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 แต่หันหน้าตรงข้ามกัน
 
จังหวะที่ 3 ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อยลำตัวตั้งตรงกระบี่ขนานพื้น หน้ามองตรง
 
จังหวะที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ทำช้า ๆ ให้ลำตัวนิ่ง
 
จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาตั้งฉาก
 
(จบไม้รำที่ 9 ควงแตะ)
ถ้าต้องการรำต่อก็เริ่มต้นตั้งแต่จังหวะที่ 1 โดยการวางเท้าขวาลงพื้นและก้าวเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหันหลัง พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ “ควงแตะ”

ไม้รำที่ 8 สอยดาว

ไม้รำที่ 8 สอยดาว 

ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
 
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า เปลี่ยนวิธีจับกระบี่ใหม่ โดยใช้นิ้วชี้สอดขึ้นบนกระบี่ จับกระบี่ด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย พร้อมกับปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบกระบี่ ขณะที่ปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง จับกระบี่โดยหงายมือขึ้น โกร่งกระบี่หันออก วางเท้าซ้ายลงพื้นทำขวาหัน ลดมือซ้ายใช้ฝ่ามือแตะที่ตัวกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้นเล็กน้อย
 
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ฝ่ามือซ้ายแตะที่กระบี่
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายตั้งฉาก ยกกระบี่ขึ้นเล็กน้อย ฝ่ามือซ้ายแตะกระบี่
จังหวะที่ 4 ก้าวซ้ายตรงไปข้างหน้า พร้อมกับจ้วงกระบี่และสอดกระบี่ขึ้นข้างบน เรียกว่า “สอยดาว” พร้อมกับก้าวเท้าขวาเดินอีก 1 ก้าว ทำกลับหลังหัน
 
จังหวะที่ 5 พลิกข้อมือกระบี่ตั้งขึ้นหันโกร่งกระบี่ออก งอเข่าทั้งสองข้างลำตัวตั้งตรง มือซ้ายจิ้มเข้ากลางหน้าอก
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าหลัง
 
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาตั้งฉาก เมื่อตัวนิ่งแล้วมือซ้ายเหยียดออกรำหน้า
 
จังหวะที่ 8 วางเท้าขวาลงพื้น พลิกข้อมือที่จับกระบี่หงายมือขึ้นแบฝ่ามือซ้ายหันฝ่ามือลง แตะปลายกระบี่ ถ่ายน้ำหนักตัวไปเข่าขวา ยกเข่าซ้ายตั้งฉากเพื่อเดินตรงไปข้างหน้า
 
จังหวะที่ 9 พลิกข้อมือหันโกร่งกระบี่ออกนอกลำตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้นข้างบนประมาณ 45 องศา มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อย
 
จังหวะที่ 10 ยกเข่าขวาตั้งฉากให้ตัวนิ่งแล้วมือซ้ายรำหน้า
(จบไม้รำที่ 8 สอยดาว) ถ้าต้องการรำต่อ หรือเข้าสู่ท่าคุมรำ ให้วางเท้าขวาลงบนพื้น ยกกระบี่ ขึ้นควง 2 รอบ อยู่ในท่าคุมรำ

ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์

ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์

 ทิศทางการเดินเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้าวางเท้าซ้ายโดยหันลำตัวทางขวา คล้ายทำขวาหัน ยืนในท่ายักษ์ คือการย่อเข่าทั้งสอง น้ำหนักตัวลงตรงกลาง ลำตัวตรง หน้าตรง ตัวกระบี่ขึ้นตรงวางไว้หน้าขาขวา ปลายกระบี่พาดช่วงไหล่ขวา
 
จังหวะที่ 2 เมื่อลำตัวนิ่งในท่ายักษ์แล้ว ให้สลัดหน้าไปทางซ้าย แล้วสลัดหน้าไปทางขวา
 
จังหวะที่ 3 สลัดหน้าตรงพร้อมกับยกกระบี่ขึ้นฟังให้ตรงข้างหน้าทางขวา 1 ครั้งทางซ้าย 1 ครั้ง โดยฟันเป็นลักษณะกากบาท
 
จังหวะที่ 4 เมื่อยก กระบี่ขึ้นฟันข้างหน้า ขวา – ซ้าย แล้วให้กลับอยู่ในท่ายักษ์
จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาตั้งฉากใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพลิกตัวกลับหลังหัน เมื่อกลับหลังหันแล้วให้วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้ายตัวตรง หน้ามองตรงพร้อมกับยกเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหลังหันอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เท้าขวาเป็นจุดหมุน จะกลับมาอยู่คล้ายจังหวะที่ 4 ลักษณะท่ายักษ์ เมื่อตัวนิ่งแล้ว ให้สลัดหน้าทางซ้าย 1 ครั้ง ทางขวา 1 ครั้ง และกลับมาสู่ท่ายักษ์

ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง หรือควงป้องหน้า ( เดินตรง )

ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง หรือควงป้องหน้า ( เดินตรง )

• ท่าคุมรำ
• ควงกระบี่สองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า

• มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า แขนงอเล็กน้อย หน้าก้มให้มือซ้ายรำอยู่ ใต้โกร่งกระบี่
• ลาดเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น

• วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา พร้อม กับควงกระบี่สองรอบ 
• พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า

• มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า ให้มือซ้ายรำอยู่ใต้โกร่งกระบี่ แขนงอเล็กน้อย หน้าก้ม
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น

• หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ยกกระบี่ไปข้างหน้าทางขวา มือซ้าย จีบไว้ที่หน้าอก
• วางเท้าขวาลง

ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ( เดินตรง )

ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ( เดินตรง )
• ท่าคุมรำ
• ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า ยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
• จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง

 
• ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว พลิกข้อมือให้กระบี่เฉียงอยู่ข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
• มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก

• วางเท้าขวาลงข้างหน้า หมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า 
• ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น

• จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย ถอยเท้าซ้ายวางไว้หลังเท้าขวา
• พลิกข้อมือให้กระบี่อยู่ข้างหน้าเฉียง45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหา ลำตัว โล้หน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น

• มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก
• วางเท้าขวาลงข้างหน้า
• หมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า


• ก้าวเท้าขวาเฉียงไปข้างหน้า 1 ก้าว กลับมาสู่ท่า คุมรำ

ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ( เดินสลับฟันปลา )

ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ( เดินสลับฟันปลา )
• ท่าคุมรำ
• ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา 45 องศา พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
• ยกมือซ้ายมาตั้งศอกที่เข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะกระบี่หันฝ่ามือไปทางขวา
• หมุนตัวไปทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบที่หน้าอก และลดกระบี่มาอยู่ข้างหน้าเฉียงขึ้น 45 องศา พลิกข้อมือ หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวก้าวเท้าขวาไปข้าหน้าเฉียงไปทางซ้ายอีก 1 ก้าวโล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น รำข้าง

• หมุนตัวไปทางขวา วางเท้าขวาลง มือซ้ายจีบอก กลับสู่ท่าคุมรำ

ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง ( เดินตรง )

ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง ( เดินตรง )
• ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
• มือซ้ายรำหน้า 
• วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายมาจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังทางขวา
• หมุนข้อมือ บิดไปทางขวา ให้โกร่งกระบี่อยู่นอกกระบี่เฉียงลง 45 องศา แขนขวาชิดข้างหู งอแขนเล็กน้อย หน้าก้ม โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
• หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ขณะที่ยกเท้าขวาอยู่โดยใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก วางเท้าขวาลง
• ลดกระบี่ลงอยู่ข้างเอวทางซ้าย ฝ่ามือซ้ายทาบกระบี่ โกร่งกระบี่หัน ลงสู่พื้น ปลายกระบี่ชี้ลง โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
• วางเท้าขวาลง วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก อยู่ในท่าคุมรำ

ไม้รำที่ 2 ควงทัดหู ( เดินสลับฟันปลา )

ไม้รำที่ 2 ควงทัดหู ( เดินสลับฟันปลา )
 จากท่าคุมรำ
 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างขวา 1 ก้าว ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบ พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู
 ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
 หมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากพร้อมกับจ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลงแล้วก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว พลิกกระบี่ไปอยู่ข้างหน้าลำตัว กระบี่เฉียงออก 45 องศา โกร่งกระบี่หันเข้าหาลำตัว


 ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวาแล้วยกเท้าขวาขึ้น
 มือซ้ายรำข้าง
 หมุนตัวกลับไปทางขวา 1 มุมฉาก มือซ้ายจีบไว้ที่อก วางเท้าขวาลง กลับมาอยู่ในท่าคุมรำ

ไม้รำที่ 1 ลอยชาย (เดินสลับฟันปลา)

ไม้รำที่ 1 ลอยชาย (เดินสลับฟันปลา)
 มือซ้ายจีบที่หน้าอก ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้าเข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง กระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น หงายมือ โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอกแขนท่อนบนอยู่ชิดลำตัว ข้อศอกงอเป็นมุมฉาก
 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง

 ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น เข่าซ้ายงอเป็นมุมฉาก ขาท่อนบนขนานพื้น เข่าขวาตึง
 มือซ้ายรำหน้า แล้วจีบไว้ที่หน้าอก 

 หมุนตัวต่อไปทางซ้าย 1 มุมฉาก วางเท้าซ้ายลงวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางซ้ายไว้ข้างเอว โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอก ก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
 ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น 
 มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก 
 หมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉากวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา วางเท้า ขวาลง พลิกข้อมือหงาย อยู่ในท่าคุมรำ

การขึ้นพรหมยืน

การขึ้นพรหมยืน

• พรหมยืน ให้หันหน้าเข้าหาคู่พรหมนั่ง วางกระบี่ปลายชี้ไปข้างหน้าห่างกึ่งกลางเข่าทั้งสองพอประมาณ
• ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
• ประณมมือ วันทา แล้วหยิบกระบี่ทัดหูเฉียง 45 องศา ตั้งเข่าซ้าย 

• จ้วงกระบี่ด้านหน้า ลุกขึ้นยืนหันทางขวา 90 องศา หงายมือโกร่งอยู่ด้านบนกระบี่ เฉียง 45 องศารำข้างเสมอคิ้ว

• ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า เปลี่ยนกระบี่ทัดหู ลากเท้าขวาไปข้างหน้าเปลี่ยนหงายกระบี่เฉียง 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้ายยกเข่าซ้ายจ้วงกระบี่พร้อมก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเท้าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวามาทางด้านขวา หันหน้าไปทางซ้ายมือ 90 องศา ท่าทัดหู 
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่ พร้อมวางเท้าซ้าย แล้วก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย 
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่พร้อมวางเท้าซ้าย และก้าวเท้าขวา หงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว ควง 2 รอบ ยืนคุมรำ เสร็จแล้ว ตรง

การขึ้นพรหมนั่ง-พรหมยืน

 การขึ้นพรหมนั่ง
• พรหมนั่งให้นั่งหันขวาเข้าหาคู่นั่งพรหมยืน
• กระบี่วางด้านข้างกายทางซ้าย
• ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
• ประณมมือวันทา แล้วหยิบกระบี่

• ยกกระบี่ข้ามศีรษะจัดอยู่ระดับเอวขวาศอกแนบชิดลำตัวเป็นมุมฉาก เข้าขวาตั้งมือซ้ายจีบอก
• เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย โล้ตัวไปข้างหน้า รำหน้า 

• หมุน 180 องศา กลับทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้ายรำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้ายพร้อมวาดกระบี่ออกนั่งคุมรำ



• โล้ตัวไปด้านหน้า รำหน้า หันทางขวา 90 องศา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย นุ่งคุมรำ




• โล้ตัวไปด้านหน้า ลุกขึ้นยืน ลากเท้าชิดขวาเท้าซ้าย ยกเท้าซ้าย รำหน้า วางเท้าหมุน 180 องศาทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้างระดับคิ้ว ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวา พร้อมวาดกระบี่ออกทางขวา วางเท้าอยู่ในท่ายืนคุมรำ (จะหันหน้าเข้าหาคู่ต่อสู้)

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กระบี่-กระบอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Krabi Krabong practitioners in Thailand.jpg
กระบี่-กระบอง เป็นการแสดง การเล่น การฝึก การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธโบราณของไทยเราที่ใช้ต่อสู้ป้องกันตัว ป้องกันประเทศในสมัยก่อน โดยทำเลียนแบบอาวุธจริง เป็นไม้ โลหะ หนังสัตว์ เช่น ดาบ หอก ง้าว ดั้ง เขน โล่ ไม้ศอกสั้น เป็นต้น

[แก้] ความเป็นมาของ กระบี่ - กระบอง

ชาติไทยเป็นชนชาติที่มีการต่อสู้ ศึกสงครามเพื่อป้องกันประเทศ รักษาความเป็นเอกราชของแผ่นดินที่ยาวนานชนชาติหนึ่ง คนไทยในยุคแรก ๆ ที่เริ่มก่อตั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิแหลมทองมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษในยุคดังกล่าวได้อาศัยสติปัญญา ความกล้าหาญ และใช้อาวุธนานาชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่นและกองทัพเข้าต่อสู้ป้องกันมาโดยตลอด เริ่มจากกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ ชาติไทยเป็นชาติที่รักสงบมากกว่าที่จะคิดเบียดเบียนใคร ความที่เป็นชาติที่รักสงบจึงมักถูกรังแกอยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้คนในชาติสมัยก่อนต้องดิ้นรนช่วยตัวเองทั้งชายและหญิง บรรดาทหารกล้าตลอดจนชาวบ้านต่างฝึกฝน เสาะหาเรียนวิชาฟันดาบ และการต่อสู้ด้วยอาวุธนานาชนิด จึงเกิดมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ จนถึงขั้นประลองฝีมือ
ในสมัยก่อน การประลองแบบแรกเป็นเรื่องจริงจังอาศัยหลักวิชาการต่อสู้เป็นหลัก จึงมีคนนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าประลองกับชาวต่างชาติ หรือชาวตะวันตกที่ใช้อาวุธของเขาเป็นหลักก็ยิ่งทำให้เป็นที่สนใจมากขึ้น (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังมีการประลองมวย และการต่อสู้ด้วยอาวุธหน้าพระที่นั่งเหมือนกัน)
ผู้เรียบเรียงคิดว่าการประลองทั้งสองแบบส่วนใหญ่คงจะมีปะปนกัน เพราะแบบที่สองให้ความสนุกสนานในการชมควบคู่กันไป และแบบที่สอง นี้คงจะพัฒนาการเล่นการแสดง ทำเลียนแบบ นัดแนะลูกไม้ แต่ไม่มีอันตรายใด ๆ นอกจากบาดเจ็บเมื่อพลาดพลั้งบางครั้ง และมีคนนิยมดูมากขึ้น เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 - 2 มักจะเรียกว่า การประลองดาบ การประลองหอก การประลองยิงธนู เป็นต้น และเรียกบรรดาผู้คนที่มีวิชาความรู้เรื่องฟันดาบว่า นักดาบ นำหน้าสำนักหรือหมู่บ้านชุมชนนั้น ๆ เช่น นักดาบจากบ้านบางระจัน นักดาบจากกรุงศรีอยุธยา นักดาบจากพุกาม ทหารจากพม่า ลาว เขมร แต่จะไม่มีใคร เรียกว่า นักกระบี่กระบอง เพราะคำว่า กระบี่ – กระบอง เกิดหลังรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์คำว่า กระบี่ – กระบอง มีคำกล่าวถึงที่มาของคำนี้อยู่หลายประการ แต่ยังมีเหตุผลที่น่าคิดและน่าเชื่อถือได้อีก ประการหนึ่ง กล่าวคือ
เรื่องรามเกียรติ์ กระบี่ หมายถึง หัวหน้าฝ่ายลิง(หนุมาน) ถือตรีหรือสามง่ามสั้น ๆ เป็นอาวุธ ลิงรูปร่างเล็กเคลื่อนไหวเร็ว แคล่วคล่องว่องไว ลูกน้องพลลิงทั้งหลายบางตัวก็ใช้พระขรรค์เป็นอาวุธ
กระบอง หมายถึง พวกยักษ์ที่พกกระบองเป็นอาวุธ ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต เคลื่อนไหวช้า เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบเรียกแยกประเภท อาวุธที่ใช้แสดงต่อสู้ป้องกันตัวน่าจะมาจากการแยกฝ่ายยักษ์และลิง โดย ถือว่าลิงรูปร่างเล็กและผู้พากย์โขนมักเรียกขนานนามว่า ขุนกระบี่ ซึ่งหมายถึง หนุมานหัวหน้าลิง ซึ่งมีตรีหรือสามง่ามสั้นพกเป็นอาวุธประจำกาย และพลลิงตัวอื่น ๆ พกอาวุธสั้น เช่น พระขรรค์ เป็นต้น
ฉะนั้นคำว่า "กระบี่" จึงถูกนำมาเป็นคำเรียกแยกให้รู้ว่าอาวุธสั้นทั้ง หลายจะรวมเรียกว่า กระบี่ ซึ่งมี ดาบ โล่ ดั้ง เขน ไม้ศอกสั้น มีดสั้น พระขรรค์ เคียว ขวาน ตรี สามง่ามสั้น และ สีโหล่
“กระบอง" มาจาก ยักษ์ ที่ถือกระบองเป็นอาวุธยักษ์รูปร่างใหญ่โตและ การเคลื่อนไหวไม่ไวเท่าลิง อาวุธนี้จึงถูกจัดเรียกว่า กระบอง ไม่ว่าสั้นหรือยาวเป็นหัวหน้า ให้ความหมายรวมเป็นของยาวทั้งมวล ถ้าพูดตามความ จริงแล้วการเคลื่อนไหวการต่อสู้จะทำได้ดีซึ่งส่วนมากจะเป็นวงนอก ส่วนของสั้นจะทำได้ทั้งวงนอกและวงใน
ฉะนั้นคำว่า “กระบอง“ จึงถูกแยกเรียกเป็นที่รวมของอาวุธยาวที่ใช้แสดงทั้งหมด เช่น พลอง กระบอง ง้าวทุกชนิด โตมร ทวน หอก เป็นต้น
การเรียกกระบี่กระบองยังมีหลักฐานให้เห็นชัดในเรื่องอาวุธที่นิยมใช้แสดงและเล่นกัน คือ คู่ของไม้ศอกสั้นกับพลอง นั่นคือความหมายที่ถูกจัดให้เห็นว่า อาวุธสั้นคือลิง ผู้แสดงจะแสดงถึงหลักวิชาความคล่องแคล่วว่องไว ส่วนพลองหรือกระบองคือตัวแทนของยักษ์เป็นประเภทอาวุธยาว

[แก้] อ้างอิง

  • Tony Moore (2004). Muay Thai: The Essential Guide. New Holland Publishing. 
  • Donn F. Draeger and Robert W. Smith (1981). Comprehensive Asian Fighting Arts. Kodansha International. 
  • เรียบเรียงจาก บทความแสดงในงานนิทรรศการกีฬาไทย ท้องสนามหลวง เดือนมีนาคม 2545 โดย อ.นิพนธ์ ศรีวิจิตร

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น